วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

เตรียมรับมือภัยพิบัติ


สิ่งของที่ควรเตรียมใว้รับมือภัยพิบัติ

          สำหรับคนที่มีความเสี่ยงจะต้องอพยพ เรามาดูกันว่าจะต้องซื้อและจัดหาอะไรเตรียมไว้บ้าง โดยหลักของการอพยพ เราจะต้องเอาของไปแค่เพียงกระเป๋าสะพาย 1 ใบเท่านั้น เพื่อความคล่องตัว การขนของเยอะเกินไปจะทำให้ล้า และเป็นภาระกับผู้อพยพคนอื่นๆด้วย
สัมภาระควรจะไม่หนักเกินไป โดยปกติกระเป๋าเป้ที่คนทั่วไปจะสะพายเดินทางได้อยู่ที่ประมาณ 10-15 กิโลกรัม คนที่แข็งแรงหรือได้รับการฝึกก็จะแบกได้หนักกว่านั้น (เช่นทหาร สามารถแบกได้ถึง 40-50 กิโลกรัม) การแบกของเกินกำลังก็ทำให้เหนื่อยมากกว่าปกติ
เรามีเวลาไม่มากนักหลังจากได้รับแจ้งว่าให้อพยพ ดังนั้นถ้ามีความเสี่ยง ขอให้เตรียมของไว้ในที่ที่หยิบฉวยได้ง่าย
ของทุกรายการควรเล็ก กินพื้นที่น้อย เป็นขนาดพกพา และไม่แตกหักเสียหายง่าย
ของบางรายการสามารถเตรียมไว้ใช้ได้ระหว่างน้ำท่วมและรอความช่วยเหลือ
  • กระเป๋าเป้แบบทนทาน หลายรุ่นสามารถกันน้ำเข้าได้ (แต่ถ้าลงไปแช่น้ำเลยคงไม่ได้) เราจะใช้กระเป๋าแบบนี้เมื่อต้องอพยพ สะพายหลังและเดินทางได้คล่อง กระเป๋าหิ้วและกระเป๋าเดินทางล้อลากจะไม่สะดวกอย่างยิ่ง  ดูตัวอย่างกระเป๋าสะพายหลัง คลิกที่นี่
  • ซองพลาสติกกันน้ำสำหรับมือถือ (แบบที่ขายกันตอนสงกรานต์) ซึ่งสามารถห้อยคอได้เลย
  • ซองพลาสติกกันน้ำสำหรับใส่เอกสารสำคัญ (บัตรประชาชน, ทะเบียนบ้าน, วุฒิการศึกษา, บัญชีธนาคาร, หนังสือเดินทาง, เอกสารประกัน, แฟลชไดร์ฟ, และเอกสารทางราชการอื่นๆ) ถุง ZipLoc จะมีขนาดใหญ่พอใส่เอกสาร A4 ได้  คลิกดูตัวอย่างกระเป๋ากันน้ำและถุงกันน้ำ
  • แฟลชไดร์ฟ สำรองข้อมูลสำคัญไว้ก่อน มีคำแนะนำให้ใช้ฮาร์ดดิสก์หรือแกะฮาร์ดดิสก์ออกมา แต่เนื่องจากระหว่างอพยพแฟลชไดร์ฟจะไม่เกินความเสียหายแม้ถูกกระแทก ถ้าใครใช้ฮาร์ดดิสก์ ก็แนะนำให้ระวังการกระแทกเป็นอย่างมาก
  • แบตเตอรี่สำรองสำหรับมือถือ หรือชาร์จเจอร์สำรองแบบใส่ถ่ายไฟฉาย และที่ชาร์จโทรศัพท์ คลิกดูตัวอย่าง
  • เงิน เตรียมเงินไว้พอสมควรใช้จ่ายฉุกเฉิน ให้เป็นธนบัตรแบบย่อย และมีเศษเหรียญไว้บ้าง เผื่อใช้กับโทรศัพท์สาธารณะ
  • หมวก แบบ Cap กันแดดและไม่หลุดจากหัวเราเมื่อโดนลมพัด
  • ขนมปังกรอบ ขนมกรุบกรอบ หรือจะเป็นซีเรียลบาร์ ก็ได้ ไว้แก้หิวยามเดินทาง
  • อาหารแห้งอื่นๆ พอประมาณ ถ้าเราไปศูนย์อพยพหรือที่ปลอดภัยอื่น เราอาจหาอาหารที่ปลายทางได้

  • ขวดน้ำดื่ม จะใช้กระติกหรือ tumbler ก็ได้
  • ช้อนคันเล็กๆ อุปกรณ์สำหรับใช้รับประทานอาหาร
  • ชุดยา แก้ไข แก้หวัด ยาทาแก้ผื่นคัน (ให้สอบถามเภสัชกร)
  • โลชันทากันยุง
  • แปรงสีฟัน ยาสีฟัน
  • ผ้าขนหนู
  • เจลล้างมือแบบไม่ใช้น้ำ
  • สบู่แบบฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หรือราได้ (เช่น Asepo, Protex, Detol)
  • กระดาษทิชชู และกระดาษทิชชูแบบเปียก
  • แป้ง สำหรับโรยเมื่อต้องเผชิญความเปียกชื้นตลอดเวลา
  • เสื้อผ้า สำหรับใส่ได้ประมาณ 3-5 วัน รวมถึงชุดชั้นใน และถุงเท้า เสื้อผ้าขอให้เน้นกันแดด กันยุง ก็ต้องเป็นขายาวและแขนยาว เตรียมเสื้อแจ็คเก็ตไว้ด้วย
  • รองเท้า เลือกที่เหมาะสำหรับการลุยน้ำ ซึ่งต้องคลุมมิดชิด ที่สุดคือรองเท้าบู๊ต แต่จะใช้รองเท้าเดินป่า หรือรองเท้ากีฬา ก็ได้
  • รองเท้าแตะ สำหรับใส่เวลาอยู่ในศูนย์อพยพ (ไม่แนะนำให้ใส่ลุยน้ำ)
  • ถุงนอน
  • สมุดโน้ตเล็กๆ และปากกาลูกลื่น
  • ถุงพลาสติกเล็กๆ
  • ไฟแท่งฉุกเฉิน (Glowsticks or Chemical Light Sticks) สำหรับอพยพเวลากลางคืน หรือแจ้งตำแหน่งให้กับกู้ภัย
  • นกหวีด
  • มีดพับอเนกประสงค์
  • เสื้อชูชีพ
ของทุกอย่างสามารถหาได้ตามร้านค้าทั่วไป ลองดูของในร้านพวกอุปกรณ์เดินป่า หรือของที่ใช้กับทหาร ก็จะได้ไอเดียในการซื้อของเพื่อรับภัยพิบัติมากขึ้น







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น